วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560


บันทึกการเรียน  ครั้งที่  1
วัน  พุธ  ที่  11  เดือน  มกราคม  พ.ศ.  2560
เนื้อหา
-          คุณครูมีกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกความสามารถการวาดภาพแบบง่ายๆ  โดยไม่ใช้ไม้บรรทัด
1.        ขีดเส้นตรง
2.        วาดรูปวงกลม
3.        ขีดเส้นสองเส้นโดยมีจุดตัดหนึ่งจุด
4.        วาดรูปสี่เหลี่ยม
5.        วาดรูปสามเหลี่ยม
6.        วาดรูปสี่เหลี่ยมและขีดเส้นตัดในรูปสี่เส้น
7.        วาดรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด
8.        วาดรูปสิบสองเหลี่ยม
9.        วาดรูปทรงกระบอก
10.      วาดรูปทรงลูกเต๋า



เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with special needs )
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ( Early Childhood with special needs )
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ทางการแพทย์   จะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า เด็กพิการ
หมายถึง       เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสีย สมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา  ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่าหมายถึง
            เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล
สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึง
          เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
          มีสาเหตุจากสภาพความ บกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
          จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือการบำบัด และฟื้นฟู
          จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ  และความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล

***คำนิยาม***
เด็กพิเศษ  หมายถึง  เด็กที่แตกต่างจากเด็กปกติ
ปรัชญาของเรียนรวม   All  Children  Can  Learn
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
 พัฒนาการ
          การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
          ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ 
          เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
          พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
          พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
          ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด     
          ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด      
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด 
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พันธุกรรม
            เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด  มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
Cleft Lip / Cleft Palate  ปากแหว่ง เพดานโว่
Albinism   โดนแดดไม่ได้, ตาแดงๆ
Neurofibromatosis  รักษาไม่หาย
ดาวซีนโดม
ธาลัสซีเมีย / เลือดจาง
 2. โรคของระบบประสาท
           เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย 
          ที่พบบ่อยคืออาการชัก
3. การติดเชื้อ 
          การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
          นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
 4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
           โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
          การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
          ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
          มีอากาศซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
          ภาวะตับเป็นพิษ
          ระดับสติปัญญาต่ำ
แอลกอฮอล์
          น้ำหนักแรกเกิดน้อย
          มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
          พัฒนาการของสติปัญญาก็มีความบกพร่อง
          เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal alcohol syndrome, FAS
          ช่องตาสั้น  
          ร่องริมฝีปากบนเรียบ
          ริมฝีปากบนยาวและบาง  
          หนังคลุมหัวตามาก
          จมูกแบน 
          ปลายจมูกเชิดขึ้น
นิโคติน
          น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
          เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก
          สติปัญญาบกพร่อง
          สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
8. สาเหตุอื่นๆ
- อุบัติเหตุ
- หัวได้รับการกระแทก
- โดนเหล็กทิ่มที่หัว
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
          มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
          ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
แนวทางการวินิจฉัย เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
          โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
          การเจ็บป่วยในครอบครัว
          ประวัติฝากครรภ์ 
          ประวัติเกี่ยวกับการคลอด      
          พัฒนาการที่ผ่านมา     
          การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง   
          ปัญหาพฤติกรรม   
          ประวัติอื่นๆ
เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
          ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่ หรือถดถอย
          เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
          มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
          สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
          ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
          ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
          ภาวะตับม้ามโต 
          ผิวหนัง
          ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
          ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
          ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ
          การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
          แบบทดสอบ Denver II
          Gesell Drawing Test 
          แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น